การประชุมนานาชาติ เรื่อง “การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร: นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า” ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆจากนานาชาติเข้าร่วมประชุมมากกว่า 200 ท่าน มีความเห็นพร้อมตัองกัน ในหัวข้อการประชุม จึงได้ร่วมกันแถลงคําประกาศด้วยจุดประสงค์บั้นปลายเพื่อการเข้าถีงยาของผู้ป่วยหรือผู้จําเป็นต้องใช้อย่างถ้วนหน้า.
คำประกาศกรุงเทพฯ
ว่าด้วยการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร:
นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า
ตั้งแต่วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2550 ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ด้านเภสัชกรรม ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา นักกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้บริโภค และข้าราชการ จาก 4 ทวีปทั่วโลก กว่า 200 คน มาร่วมการประชุมนานาชาติ เรื่อง “การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร: นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า”
พวกเราขอประกาศร่วมกัน ณ ที่นี้ว่า
1. พวกเราขอแสดงความชื่นชมต่อประเทศไทยในการแสดงบทบาทนำอย่างสำคัญในดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (ซีแอล:CL) ทั้งยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาสำหรับโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจ เช่นเดียวกันกับประสบการณ์การต่อสู้กับการผูกขาดยา โดยระบบสิทธิบัตร เพื่อผลักดันการเข้าถึงยาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นบราซิล อินโดนีเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กลุ่มประเทศอัฟริกา ฯลฯ ประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้บอกกับเราว่า เมื่อเรารวมตัวกัน เราไม่โดดเดี่ยวในการต่อสู้ และเกิดเป็นพลังมุ่งมั่นผลักดันการเข้าถึงยาแก่ทุกคนบนโลกใบนี้
พวกเราขอประกาศร่วมกัน ณ ที่นี้ว่า
1. พวกเราขอแสดงความชื่นชมต่อประเทศไทยในการแสดงบทบาทนำอย่างสำคัญในดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (ซีแอล:CL) ทั้งยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาสำหรับโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจ เช่นเดียวกันกับประสบการณ์การต่อสู้กับการผูกขาดยา โดยระบบสิทธิบัตร เพื่อผลักดันการเข้าถึงยาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นบราซิล อินโดนีเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กลุ่มประเทศอัฟริกา ฯลฯ ประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้บอกกับเราว่า เมื่อเรารวมตัวกัน เราไม่โดดเดี่ยวในการต่อสู้ และเกิดเป็นพลังมุ่งมั่นผลักดันการเข้าถึงยาแก่ทุกคนบนโลกใบนี้
2. พวกเราได้ร่วมผนึกกำลังกันเป็น “เครือข่ายซีแอลทั่วโลก: นวัตกรรมและการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า” เครือข่ายประกอบด้วย เครือข่ายผู้ป่วยผู้บริโภค นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ด้านเภสัชกรรม ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ข้าราชการ และอุตสาหกรรมยาท้องถิ่นในแต่ละประเทศ เชื่อมโยงทำงานร่วมกัน เพื่อแสวงหาหนทางทุกวิถีทางในการบรรลุเป้าหมายให้
“ทุกคนสามารถเข้าถึงยาจำเป็นที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม”
3. เรายืนยันว่าการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และปกป้องประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นทุกประเทศจึงมีสิทธิในการใช้ซีแอล รวมถึงมาตรการยืดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก อย่างเป็นระบบและเป็นกิจวัตร ดังเช่นที่ประเทศร่ำรวยทั้งหลายทำมาโดยตลอด
4. การคัดค้านของบรรษัทยาข้ามชาติต่อการใช้ซีแอลของประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสร้างเสริมการเข้าถึงยาของประชาชนนั้น มักตั้งอยู่บนพื้นฐานการโกหกหลอกลวง บิดเบือน หรือตีความกฎหมายและข้อเท็จจริงโดยใช้ข้ออ้างที่คลุมเครือไม่มีใครตรวจสอบได้ และมีอคติต่อประเทศกำลังพัฒนา หลักประกันที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงทริปส์ด้านการสาธารณสุข และคำประกาศโดฮา ได้ถูกบ่อนเซาะอย่างเป็นขบวนการ โดยความเห็นแก่ตัว และการกดดันทางการค้าแบบไม่เปิดเผย
หยุดเสียทีกับการกระทำเช่นนี้
5. มีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันพัฒนาตลาดยาชื่อสามัญซึ่งจะทำให้เพิ่มการเข้าถึงยาไดอย่าง มหาศาล ควบคู่กับพัฒนาระบบการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยที่ตอบสนองความจำเป็นด้านสาธารณสุข เราต้องปฏิเสธการบังคับให้เราต้องเลือกในระหว่างการเข้าถึงยาของทุกคน กับนวัตกรรม ทั้งๆ ที่เราสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ และเราต้องไม่ยอมรับการกีดกันคนมีรายได้น้อย หรือคนที่ไม่ได้มีประกันสุขภาพชนิดใด ๆ อีกด้วย
เราขอแสดงความชื่นชมต่อมติสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA 60.30) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาอย่างจริงจังถึง กลไกใหม่ที่ตัดความเชื่อมโยงระหว่างแรงจูงใจและการสนับสนุนเงินทุนในการวิจัยและพัฒนา กับการกำหนดราคายา เราสนับสนุนให้มีอนุสัญญานานาชาติว่าด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านยา ที่จะทำหน้าที่เร่งรัดให้เกิดการวิจัยและพัฒนาที่ตอบสนองต่อความความจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และงานวิจัยที่จะตอบสนองเป็นการเฉพาะต่อปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศกำลังพัฒนา
“ทุกคนสามารถเข้าถึงยาจำเป็นที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม”
3. เรายืนยันว่าการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และปกป้องประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นทุกประเทศจึงมีสิทธิในการใช้ซีแอล รวมถึงมาตรการยืดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก อย่างเป็นระบบและเป็นกิจวัตร ดังเช่นที่ประเทศร่ำรวยทั้งหลายทำมาโดยตลอด
4. การคัดค้านของบรรษัทยาข้ามชาติต่อการใช้ซีแอลของประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสร้างเสริมการเข้าถึงยาของประชาชนนั้น มักตั้งอยู่บนพื้นฐานการโกหกหลอกลวง บิดเบือน หรือตีความกฎหมายและข้อเท็จจริงโดยใช้ข้ออ้างที่คลุมเครือไม่มีใครตรวจสอบได้ และมีอคติต่อประเทศกำลังพัฒนา หลักประกันที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงทริปส์ด้านการสาธารณสุข และคำประกาศโดฮา ได้ถูกบ่อนเซาะอย่างเป็นขบวนการ โดยความเห็นแก่ตัว และการกดดันทางการค้าแบบไม่เปิดเผย
หยุดเสียทีกับการกระทำเช่นนี้
5. มีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันพัฒนาตลาดยาชื่อสามัญซึ่งจะทำให้เพิ่มการเข้าถึงยาไดอย่าง มหาศาล ควบคู่กับพัฒนาระบบการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยที่ตอบสนองความจำเป็นด้านสาธารณสุข เราต้องปฏิเสธการบังคับให้เราต้องเลือกในระหว่างการเข้าถึงยาของทุกคน กับนวัตกรรม ทั้งๆ ที่เราสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ และเราต้องไม่ยอมรับการกีดกันคนมีรายได้น้อย หรือคนที่ไม่ได้มีประกันสุขภาพชนิดใด ๆ อีกด้วย
เราขอแสดงความชื่นชมต่อมติสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA 60.30) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาอย่างจริงจังถึง กลไกใหม่ที่ตัดความเชื่อมโยงระหว่างแรงจูงใจและการสนับสนุนเงินทุนในการวิจัยและพัฒนา กับการกำหนดราคายา เราสนับสนุนให้มีอนุสัญญานานาชาติว่าด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านยา ที่จะทำหน้าที่เร่งรัดให้เกิดการวิจัยและพัฒนาที่ตอบสนองต่อความความจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และงานวิจัยที่จะตอบสนองเป็นการเฉพาะต่อปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศกำลังพัฒนา
กติกาและหลักการ ที่เราดำเนินการในการประชุมครั้งนี้ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของมนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ ภารกิจในการต่อสู้เพื่อสิทธิในการเข้าถึงยาเป็นหน้าที่ของเราทุกคน เป้าหมายที่เราตั้งไว้เป็นจริงได้ เมื่อเราร่วมมือกันในระดับสากล ระดับประเทศ และระดับเครือข่ายผู้ป่วย ดำเนินการเพื่อบรรลุผลในการเข้าถึงยาของทุกคน
กรุงเทพ ฯ
23 พฤศจิกายน 2550
การจัดประชุมนานาชาติ เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร :
นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า
วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2550
องค์กรผู้จัด
1) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
4) มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.)
5) กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.)
6) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
7) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (TNP+)
8) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม (วจภส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9) แผนงานเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.),
10) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)
สำนักงาน
แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โอสถศาลาชั้น 4, ถนนพญาไท ปทุมวัน กทม 10330
โทร 02-2188445,โทรสาร 02-2513531
1) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
4) มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.)
5) กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.)
6) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
7) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (TNP+)
8) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม (วจภส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9) แผนงานเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.),
10) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)
สำนักงาน
แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โอสถศาลาชั้น 4, ถนนพญาไท ปทุมวัน กทม 10330
โทร 02-2188445,โทรสาร 02-2513531
Details about Compulsory Licensing