Friday, November 30, 2007

คำประกาศกรุงเทพฯ จากผลการประชุมนานาชาติ เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร :นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า

กรุงเทพ ฯ: 23 พฤศจิกายน 2550
การประชุมนานาชาติ เรื่อง “การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร: นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า” ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆจากนานาชาติเข้าร่วมประชุมมากกว่า 200 ท่าน มีความเห็นพร้อมตัองกัน ในหัวข้อการประชุม จึงได้ร่วมกันแถลงคําประกาศด้วยจุดประสงค์บั้นปลายเพื่อการเข้าถีงยาของผู้ป่วยหรือผู้จําเป็นต้องใช้อย่างถ้วนหน้า.
คำประกาศกรุงเทพฯ
ว่าด้วยการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร:
นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า
ตั้งแต่วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2550 ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ด้านเภสัชกรรม ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา นักกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้บริโภค และข้าราชการ จาก 4 ทวีปทั่วโลก กว่า 200 คน มาร่วมการประชุมนานาชาติ เรื่อง “การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร: นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า”

พวกเราขอประกาศร่วมกัน ณ ที่นี้ว่า

1. พวกเราขอแสดงความชื่นชมต่อประเทศไทยในการแสดงบทบาทนำอย่างสำคัญในดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (ซีแอล:CL) ทั้งยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาสำหรับโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจ เช่นเดียวกันกับประสบการณ์การต่อสู้กับการผูกขาดยา โดยระบบสิทธิบัตร เพื่อผลักดันการเข้าถึงยาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นบราซิล อินโดนีเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กลุ่มประเทศอัฟริกา ฯลฯ ประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้บอกกับเราว่า เมื่อเรารวมตัวกัน เราไม่โดดเดี่ยวในการต่อสู้ และเกิดเป็นพลังมุ่งมั่นผลักดันการเข้าถึงยาแก่ทุกคนบนโลกใบนี้
2. พวกเราได้ร่วมผนึกกำลังกันเป็น “เครือข่ายซีแอลทั่วโลก: นวัตกรรมและการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า” เครือข่ายประกอบด้วย เครือข่ายผู้ป่วยผู้บริโภค นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ด้านเภสัชกรรม ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ข้าราชการ และอุตสาหกรรมยาท้องถิ่นในแต่ละประเทศ เชื่อมโยงทำงานร่วมกัน เพื่อแสวงหาหนทางทุกวิถีทางในการบรรลุเป้าหมายให้
“ทุกคนสามารถเข้าถึงยาจำเป็นที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม”

3. เรายืนยันว่าการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และปกป้องประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นทุกประเทศจึงมีสิทธิในการใช้ซีแอล รวมถึงมาตรการยืดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก อย่างเป็นระบบและเป็นกิจวัตร ดังเช่นที่ประเทศร่ำรวยทั้งหลายทำมาโดยตลอด

4. การคัดค้านของบรรษัทยาข้ามชาติต่อการใช้ซีแอลของประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสร้างเสริมการเข้าถึงยาของประชาชนนั้น มักตั้งอยู่บนพื้นฐานการโกหกหลอกลวง บิดเบือน หรือตีความกฎหมายและข้อเท็จจริงโดยใช้ข้ออ้างที่คลุมเครือไม่มีใครตรวจสอบได้ และมีอคติต่อประเทศกำลังพัฒนา หลักประกันที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงทริปส์ด้านการสาธารณสุข และคำประกาศโดฮา ได้ถูกบ่อนเซาะอย่างเป็นขบวนการ โดยความเห็นแก่ตัว และการกดดันทางการค้าแบบไม่เปิดเผย
หยุดเสียทีกับการกระทำเช่นนี้

5. มีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันพัฒนาตลาดยาชื่อสามัญซึ่งจะทำให้เพิ่มการเข้าถึงยาไดอย่าง มหาศาล ควบคู่กับพัฒนาระบบการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยที่ตอบสนองความจำเป็นด้านสาธารณสุข เราต้องปฏิเสธการบังคับให้เราต้องเลือกในระหว่างการเข้าถึงยาของทุกคน กับนวัตกรรม ทั้งๆ ที่เราสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ และเราต้องไม่ยอมรับการกีดกันคนมีรายได้น้อย หรือคนที่ไม่ได้มีประกันสุขภาพชนิดใด ๆ อีกด้วย
เราขอแสดงความชื่นชมต่อมติสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA 60.30) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาอย่างจริงจังถึง กลไกใหม่ที่ตัดความเชื่อมโยงระหว่างแรงจูงใจและการสนับสนุนเงินทุนในการวิจัยและพัฒนา กับการกำหนดราคายา เราสนับสนุนให้มีอนุสัญญานานาชาติว่าด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านยา ที่จะทำหน้าที่เร่งรัดให้เกิดการวิจัยและพัฒนาที่ตอบสนองต่อความความจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และงานวิจัยที่จะตอบสนองเป็นการเฉพาะต่อปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศกำลังพัฒนา

กติกาและหลักการ ที่เราดำเนินการในการประชุมครั้งนี้ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของมนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ ภารกิจในการต่อสู้เพื่อสิทธิในการเข้าถึงยาเป็นหน้าที่ของเราทุกคน เป้าหมายที่เราตั้งไว้เป็นจริงได้ เมื่อเราร่วมมือกันในระดับสากล ระดับประเทศ และระดับเครือข่ายผู้ป่วย ดำเนินการเพื่อบรรลุผลในการเข้าถึงยาของทุกคน

กรุงเทพ ฯ
23 พฤศจิกายน 2550


การจัดประชุมนานาชาติ เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร :
นวัตกรรม และการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า
วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2550
องค์กรผู้จัด
1) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
4) มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.)
5) กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.)
6) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
7) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (TNP+)
8) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม (วจภส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9) แผนงานเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.),
10) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)

สำนักงาน
แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โอสถศาลาชั้น 4, ถนนพญาไท ปทุมวัน กทม 10330
โทร 02-2188445,โทรสาร 02-2513531
Details about Compulsory Licensing

Bangkok Declaration on compulsory licensing, innovation, and access to medicines for all

Bangkok, November 23, 2007
The International Conference on compulsory licensing: Innovation and access for all was held in Bangkok, Thailand on November 21- 23, 2007. The three days conference attracted more than 200 attendants from around the world and led to the Bangkok Declaration on compulsory licensing, innovation, and access to medicines for all. Read the Declaration below.
Bangkok Declarationon
on
compulsory licensing, innovation, and access to medicines for all.

From November 21 to 23, 2007: 200 of experts, social activists and patient network from all over the world have gathered in Bangkok, Thailand, to discuss compulsory licensing, innovation, and access to medicines for all. This is our declaration:

1. We recognized and applauded Thailand's leadership in the use of compulsory licensing to overcome legal monopolies as well as decisions by Brazil and Indonesia. Thailand's continued leadership on compulsory licensing is important, but so too will be the actions of other countries. Because of economies of scale, it is important that the potential market in developing countries for generic products is large enough market to collectively justify entry by generic suppliers.

2. To achieve our optimal goal on innovation and access to medicines for all, we have created a new global network on compulsory licensing, innovation and access for all (I +a4a). This network will link together patients, NGOs, academic / public health experts, government officials, and generic drug manufactures to find ways to ensure that patients have access to medicines with acceptable quality & price.

3. We confirm that compulsory licensing of patents is a legitimate, important and effective tool to protect consumer and public interests. Thus every country should have the rights to systematically and routinely use compulsory licensing and other means under TRIPS flexibility similarly to wealthy countries. Governments all over the world use compulsory licensing in a variety of contexts and in many different fields. The right to use compulsory licensing is incorporated in international law and precedent, including WTO’s TRIPS agreement and Doha Declaration.

4. Objections to the use of compulsory licensing in developing countries to ensure access to medicines for all patients are often based upon untruthful, misleading, unproven assertions and assumptions, and are designed to appeal to prejudices regarding the developing world.This should stop.

5. It is feasible to permit generic competition for products, dramatically expanding access to medicines, while ensuring sustainable sources of financing for needs driven research. Because we can promote both innovation and access, we must reject policies that force choices between the two, and accept the marginalization of low income and uninsured persons. We applaud the May 2007 World Health Assembly resolution WHA60.30 which calls upon the WHO to consider new mechanisms that de-link R&D incentives and financing systems from the prices of drugs. We support the calls for a new global treaty on medical R&D, that does not force countries to embrace monopolies and high drug prices to financing medical innovation, and which boosts investments in needs driven essential R&D, including R&D needed to address the special health problems of developing countries. Our cause is important for everyone. We are seeking global norms that ensure innovation and access for all. This is an achievable goal, if we collaborate and work together.


Bangkok, November 23, 2007


The International Conference on Compulsory Licensing Innovation and Access for All.
21-23 November 2007 Bangkok, Thailand


Organizers:

1.Health Consumer Protection Program (HCP), Chulalongkorn University
2.Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University
3.Food and Drug Administration (FDA), Ministry of Public Health
4.Health & Development Foundation (H&DF)
5.Drug Study Group (DSG)
6.AIDS Access Foundation
7.Thai Network of People Living with HIV/AIDS (TNP+)
8.Social Pharmacy Research Unit, Chulalongkorn University
9.Pharmacy Network for Health Promotion (PNHP)
10.Foundation for Consumer (FFC)


Details about Compulsory Licensing