ระบบสิทธิบัตรเบื้องต้นมีกติกาอย่างไร ?
ระบบสิทธิบัตร มีไว้เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อจูงใจให้เกิดการคิดค้นที่เป็นประโยชน์ ด้วยการให้สิทธิผูกขาดตลาด สามารถจำหน่ายสินค้าการประดิษฐ์นั้นได้แต่เพียงผู้เดียว ปราศจากการแข่งขัน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่า ต้องเปิดเผยการคิดค้นหรือกรรมวิธีแห่งการประดิษฐ์นั้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด หรือนำไปผลิตเมื่อหมดอายุสิทธิบัตรซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคจ่ายเงินน้อยลงเนื่องจากสิ้นสุดการผูกขาดและเกิดการแข่งขันในตลาด
การถ่วงดุลในระบบสิทธิบัตรเป็นอย่างไร?
เมื่อระบบสิทธิบัตรให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าของสิทธิบัตรเช่นนั้น ทำให้เจ้าของสิทธิบัตรมีอำนาจที่จะกำหนดราคาสูงเท่าใดก็ได้ จึงดูเหมือนว่าผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โดยเฉพาะสินค้าที่มีผลต่อสุขภาพหรือชีวิตของผู้บริโภค ( แพงเท่าใดก็ต้องซื้อเพื่อรักษาสุขภาพหรือชีวิตของตนเอาไว้ ) ดังนั้น กติกาสากล โดยเฉพาะที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ประเทศสมาชิกจึงตกลงร่วมกันว่า ประเทศผู้เสียเปรียบต้องได้รับข้อผ่อนปรน( Flexibilities )เพื่อต่อสู้กับการใช้อำนาจเกินพอดีของเจ้าของสิทธิบัตร โดยเฉพาะสินค้าด้านการสาธารณสุข เช่น ยา เป็นต้น การใช้ข้อผ่อนปรนนั้นๆ เช่น (ในที่นี้ขอยกตัวอย่างในกรณีของ “ยา” ) ถ้ายานั้นแพงมาก ทำให้ประเทศยากจนไม่สามารถมีกำลังซื้อได้ ทำให้มีปัญหาต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ประเทศนั้นอาจไม่ให้สิทธิพิเศษในการผูกขาดตลาดแก่เจ้าของสิทธิบัตร ด้วยการเข้าใช้สิทธิในการผลิต(หรือมอบให้ผู้อื่นผลิต)หรือนำเข้ายาที่ราคาถูกกว่าได้ เพื่อทำให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงยานั้นได้มากขึ้น การใช้ข้อผ่อนปรนนี้เรียก การบังคับใช้สิทธิ ( Compulsory Licensing ) ถ้าเป็นการใช้โดยรัฐก็นิยมเรียกว่า Government Use
ทริปส์ คืออะไร?
ข้อตกลงหนึ่งที่สำคัญในเวทีองค์การการค้าโลก ก็คือ ข้อตกลงทางการค้าที่ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ( Agreement on Trade-Related Aspect of Intellectual Property Rights : TRIPs agreement )หรือเรียกย่อๆว่า ข้อตกลงทริปส์ ซึ่งสิทธิบัตรคือส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อตกลงทริปส์ มาตรา ๓๑ ระบุว่า การทำความตกลงขอใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรจะได้รับการยกเว้น หากประเทศสมาชิกมีกรณีฉุกเฉินของชาติ หรือภาวะที่เป็นเรื่องเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มิใช่เชิงพาณิชย์ ต่อมาได้มีการพัฒนาข้อตกลงทริปส์ให้มีความชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข ข้อตกลงทริปส์กับการสาธารณสุขที่กระทำขึ้นที่เมืองโดฮาและเรียกว่าปฏิญญาโดฮา(Doha Declaration)ระบุไว้ว่า ประเทศสมาชิกมีสิทธิที่จะปกป้องการสาธารณสุข โดยเฉพาะการส่งเสริมการเข้าถึงยาอย่างถ้วนหน้า ด้วยการบังคับใช้สิทธิ และประเทศสมาชิกมีเสรีภาพในการอ้างเหตุผลความจำเป็นที่ต้องบังคับใช้สิทธิด้วย นอกจากนี้ประเทศสมาชิกยังมีสิทธิที่จะกำหนดว่า สถานการณ์เช่นไรที่เป็นกรณีฉุกเฉินของชาติ หรือเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่สำคัญคือ ให้เข้าใจตรงกันว่าวิกฤตสาธารณสุขที่รวมถึงโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคระบาดอื่นๆถือเป็นกรณีฉุกเฉินของชาติ หรือเป็นเรื่องเร่งด่วนได้
กฎหมายไทยเป็นอย่างไร?
ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกมีข้อตกลงร่วมกันว่า ประเทศสมาชิกจะต้องปรับปรุงกฎหมายในประเทศให้สอดคล้องกับกติกาในเวทีองค์การการค้าโลก ดังนั้นประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกจึงมีข้อกฎหมายที่สอดคล้องกับทริปส์ด้วย โดยเฉพาะในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร คือ เรื่องการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐหรือ Government Use โดยแท้
มาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ระบุว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะ กระทรวง ทบวง กรม อาจใช้สิทธิตามสิทธิบัตรใดๆได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตรก่อน เจตนารมณ์ของกฎหมายส่วนนี้มีความชัดเจนว่ากิจการใดที่มิได้มุ่งหวังประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะกิจการสาธารณะประโยชน์ของภาครัฐ เช่น บริการสาธารณสุข รัฐสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้โดยชอบธรรม (เช่น สิทธิในการผลิตหรือนำเข้ายาที่ติดสิทธิบัตรที่มีราคาถูกกว่า หรือมอบให้ผู้อื่นใช้สิทธิแทนก็ได้ )
กระทรวงสาธารณสุขคิดเห็นอย่างไร?
เมื่อกติกาสากลบัญญัติไว้เช่นนั้น และไทยก็มีกฎหมายในประเทศรองรับแล้ว อีกทั้งสถานการณ์โรคเอดส์ก็รุมเร้า รัฐบาลไม่สามารถอนุมัติเงินซื้อยาต้านไวรัสเอดส์บริการผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค จึงจำเป็นต้องใช้สิทธิตามกฎหมาย คือตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร เพื่อให้ได้ยาต้านไวรัสเอดส์ที่มีราคาถูกลงบริการแก่สาธารณชน
กระทรวงสาธารณสุขทำอย่างไร?
กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรคเป็นผู้บังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา Efavirenz ที่มีบริษัทเมอร์คชาร์ปแอนด์โดห์มแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของสิทธิบัตร และมอบสิทธิให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้จัดหายาดังกล่าวที่มีราคาถูกกว่ามาจำหน่ายให้หน่วยบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการของข้าราชการ องค์การเภสัชกรรมอาจผลิตเองถ้ามีความพร้อม หรือถ้าไม่พร้อม อาจนำเข้ายาที่มีราคาถูกกว่าจากต่างประเทศก็ได้
ทำไมต้องเป็นยา Efavirenz ?
เนื่องจาก Efavirenz เป็นยาต้านฯที่มีสิทธิบัตร และมีศักยภาพสูงในการรักษา เนื่องจากมีโอกาสเกิดอาการแพ้ยาน้อย มีอัตราการใช้สูง แต่ยังมีราคาแพง นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมของไทยก็มีศักยภาพในการผลิตยานี้เองได้ หรือ มียานี้จำหน่ายในต่างประเทศด้วยราคาที่ถูกกว่ายาต้นตำรับ
มีประเทศใดบ้างหรือไม่ ที่มีการบังคับใช้สิทธิ ?
จากการศึกษาประสบการณ์จากต่างประเทศ พบว่า มีประเทศที่ประสบปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ได้มีการดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (Government Use) เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงยาต้านไวรัสฯมาแล้วหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย แซมเบีย โมแซมบิก
ช่วงเวลาที่ไทยจะใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา Efavirenz
การดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรฯในครั้งนี้มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการบังคับใช้สิทธิครั้งนี้
การบังคับใช้สิทธิโดยรัฐครั้งนี้ จะทำให้มียาชื่อสามัญดังกล่าวที่จำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรมในราคาที่ถูกลงประมาณ ๕๐% (ราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๑,๔๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน) หากกำหนดเป้าหมายในการครอบคลุมจำนวนผู้ติดเชื้อฯที่จะได้รับยา Efavirenz เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๕,๐๐๐ คนต่อปี เป็นจำนวนประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คนต่อปี(จำนวนคนที่ใช้ยามากขึ้นเนื่องจากแพทย์เห็นว่ายานี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาอื่นและมีราคาถูกลงแล้ว) ภายใต้เงื่อนไขที่สามารถจัดจำหน่ายยาที่มีราคาถูกลงกว่าเดิม 50% จะช่วยให้รัฐสามารถประหยัดงบประมาณได้ปีละกว่า ๘๐๐ ล้านบาท เมื่อเทียบกับการซื้อยาที่ติดสิทธิบัตร หรือประหยัดได้มากกว่า ๔ พันล้านบาท ภายในเวลาห้าปีข้างหน้า หลังจากการบังคับใช้สิทธิฯ ที่สำคัญคือผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงลดอัตราตายลงได้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
30 November, 2006
Interview with Dr. Suwit Wibulpolprasert (MSF interview)
Senior Advisor on Health Economics, Ministry of Public Health, Thailand
President of Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS)
What was the reason for issuing this compulsory license?
We have around 120 000 people on ARVs in Thailand. The first
formulation that we use is the nevirapine-based, triple therapy, but about 20 to 25% of patients cannot really take these drugs, due to side effects, some of which are even fatal. These patients have to be switched to efavirenz,
which is three times more expensive. So we need a cheaper drug because we cannot afford it. Since October 2003, the Thai government has had a policy of universal access to ARVs for all HIV positive patients who need it. Patients under the scheme get their drugs for free.
But why issue the compulsory license now?
For good reason, because after three years we have learnt a lot. At first we didn’t have much experience now we’ve done intense research and have found that the nevirapine-based formulation has about four times more serious side effects than the efavirenz one. And if possible, if we can afford it, we would hope that in the future we will be able to replace the nevirapine-based formulation with the efavirenz-based one.
What will be the impact of this compulsory license on your national policy of universal access to ARVs?
We will start by expanding the number of patients on the efavirenz-based ARV formulation and if we have a bigger budget and a further reduction in price, we should be able to cover all our patients. After the compulsory license, the price of efavirenz will be reduced by around half. Right now, it is only when patients can’t tolerate nevirapine that we switch them to efavirenz. But if the price of efavirenz goes down thanks to compulsory icensing, we will not have to subject these patients to the risk of nevirapine-based products in the near future. We will be able to start patients on the efavirenz-based formulation straight away.
How many patients will benefit from this compulsory license?
We have issued a compulsory license by the state which starts immediately and lasts for five years for up to 200 000 patients per year.
Is the compulsory license for both local production and import?
At first, we will import from India and at the same time our Government Pharmaceutical Organisation (GPO) has just finished the development of the efavirenz formulation. They are in the process of testing the product, and if the production price is cheaper or at least not more expensive than the Indian product, we will shift to local production.
What kind of price reduction do you foresee?
The Government Pharmaceutical Organisation estimates this will result in a 50 % reduction in price. The current price from the originator company is around 1400 Bath per month which is almost US $40.
___________________________________
Post a Comment