Saturday, November 11, 2006

5 ปี ที่ล่วงไปของ Doha Declaration on TRIPS ถึงเวลาต้องทบทวน

ในวันอังคารที่ 14 พย 49 นี้ องค์กรหมอไร้พรมแดน (Medecins Sans Frontieres) ร่วมกับ the Consumer Project on Technology,Third World Network, Health Action International, World AIDS Campaign และ Oxfam WHERE จัดเสวนาในระหว่าง เวลา 12.00 -14.00 น. ที่เจนีวา ตึก Rue de Varembé 15 , International Conference Centre (CICG)ชั้น 3 ห้อง 5

เรื่องที่นำมาถกกันในการเสวนาครั้งนี้ เป็นการติดตามประเมินปฎิบัติการ การเข้าถึงยาจำเป็น (access to essential medicines) ขององค์สมาชิกองค์การการค้าโลก(World Trade Organization/WTO)ว่า ตั้งแต่ ปี 2544 ที่มีการทำสัญญาใน “ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข” (Doha Declaration on TRIPS and Public Health)ในที่ประชุม the WTO Ministerial meeting ประเทศ Qatar ซึ่งเวลาผ่านมาเป็นเวลา 5 ปี แล้วนั้น ได้มีการดำเนินการตามสัญญาที่จะคุ้มครองสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับยาจำเป็นถ้วนหน้าหรือไม่ นอกจากนี่เป็นการทบทวนและวิเคราะห์สถานการการขับเคลื่อนประเด็นนี้ต่อเนื่องต่อไป การเสวนาครั้งนี้ มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศต่างๆ จากองค์การอนามัยโลก จากองค์การการค้าโลก และจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs.)

จากการประเมินสถานะภาพการเข้าถึงยาเอดส์ หลังข้อตกลงโดฮา เป็นเอกสารที่เผยแพร่ โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ร้อยละ 74 ยาที่ใช้ในผู้ติดเชื่อเอดส์ ยังเป็นยาที่ผูกขาดด้วยสิทธิบัตร และร้อยละ 77 ของประชากรในประเทศแถบ Africans ยังคงไม่ได้การรักษา และพบว่า ประเทศ Philippines,Indonesia, Niger, Botswana หรือ Haiti, ไม่มี การผลิตยาต้านเชื้อ ( antiretrovirals) ในชื่อสามัญ (generic version) ในประเทศเหล่านี้ แม้ว่าจะมี ตัวยา ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ ที่แตกต่างกันในสารสำคัญถึง 8 กลุ่มตัวยา แต่เป็นยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งคนยากจน ไม่สามารถแสวงหามาได้

โดยที่วรรค 6 (Paragraph 6) ของ “ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข” เป็นข้อที่ระบุถึงการร่วมกันสร้างระบบการเข้าถึงยาที่ทั่วถึงและเท่าเทียม ให้ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Lisencesing, CL) และการนำเข้าซ้อน (Paralell Import, PI) รวมทั้งให้ประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตยา สามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ เพื่อให้ประเทศอื่นผลิตยาชื่อสามัญส่งมายังประเทศได้ เพื่อเป็นหลักประกัน ให้ผู้ป่วย / ผู้มีเชื้อเอชไอวีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้เข้าถึงบริการบำบัดรักษาทุกคน
ข้อตกลงนี้ใช่ว่าจะปฎิบัติการได้ทันที รอมาถึงปี 2546 ถึงมีการจัดประชุมของ The WTO General Council เพื่อทำความชัดเจนถึง วิธีการให้ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตยาสามารถผลิตและจัดหายาชื่อสามัญไปยังประเทศที่ไม่มีศักยภาพได้ ซึ่งประเทศแคนาดาเป็นประเทศแรก ที่แสดงความสนใจ ได้ออกกฎหมาย Bill C-9 (the Jean Chr้tien Pledge to Africa) ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2547 อนุญาตให้ อุตสาหกรรมยาสามัญผลิต และส่งออกไปยังประเทศ Africa.
ทำให้ องค์กรหมอไร้พรมแดน (MSF) มีความหวัง จึงเป็นองค์กรแรกที่ร่วมใช้มาตรการนี้ สั่งยาต้านเชื้อ จากบริษัทยาในแคนาดาไปให้ผู้ป่วยใน แถบประเทศ Africa ภายใต้ โครงการความช่วยเหลือขององค์กรเอง ผ่านไปแล้ว สองปี ผู้ป่วยชาวอัฟริกันยังไม่ได้ยา เพราะ ยังไม่มียาใดๆที่สามารถส่งออกจากประเทศ Canada ภายใต้มาตรการนี้ เนื่องจาก ติดปัญหาข้อกฏหมายสิทธิบัตร ว่าด้วยมาตรการการบังคับใช้สิทธิ ที่ยังไม่มีการแก้ไข ภายใต้หลักการนี้

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 WTO General Council จัดให้มีการประชุมอีกครั้งเพื่อแก้ปัญหา ในทางปฎิบัติอันเนื่องจาก เงื่อนไขจากมาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory license)

***********
ก่อนหน้าในปี 2542 ประเทศไทยได้การเคลื่อนไหวโดย ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จากทุกภาค ประมาณ 100 คน ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ , องค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้บริโภค , สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม 16 องค์กรได้รวมตัวกันหน้ากระทรวงสาธารณสุข ให้รัฐแสดงจุดยืน และสนับสนุนประกาศใช้ กลไกบังคับใช้สิทธิตามมาตรา 51 ในกฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยา ดีดีไอ (ddI) เครือข่ายฯรอคำตอบจากรัฐที่ใช้เวลาถึง 1 ปี จึงได้คำตอบเมื่อถูกทวงถามในปี 2543 โดย กระทรวงสาธารณสุข แสดงจุดยืน ประกาศไม่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ แต่ให้องค์การเภสัชกรรมเลี่ยงการผลิตดีดีไอแบบเม็ด ให้หันมาผลิตดีดีไอแบบผงแทน เหตุผลในการปฏิเสธการบังคับใช้สิทธินี้ อ้างการถูกบีบจาก ข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐ โดยมีการแทรกแซงจาก รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งได้ทำหนังสือไม่เป็นทางการแจ้งเตือนรัฐบาลไทย (มกราคม 2543) จุดเน้นเพื่อเตือนไทย.ให้สังวรการบังคับใช้สิทธิเพราะจะละเมิดสิทธิทางปัญญาของผู้ผลิตยา ขณะเดียวกันยังได้กล่าวย้ำให้เห็นว่าถ้าไทยยังดื้อดึงในการบังคับใช้สิทธิ รัฐไทยจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของ WTO-TRIPs ที่สำคํญยังได้เน้นอ้างถึงข้อบังคับใช้สิทธิใน Article 31 of the TRIPS ที่เป็นส่วนเอกชน ละเลยที่จะกล่าวถึงการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ
ในช่วงเวลาเดียวกัน เครือข่ายฯ ได้รับจดหมายตอบจาก United States Trade Representative มีเนื้อความว่า อเมริกาสนับสนุนการทำให้ผู้ติดเชื้อหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงยารักษาโรค และเข้าถึงการรักษาในทุกวิถีทาง หรือถ้าต้องใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยไม่ขัดต่อข้อตกลงทางการค้า (TRIPS)
การต่อสูเพื่อให้ องค์การเภสัชกรรม สามารถผลิตยา ดีดีไอ ภายใต้ การบังคับใช้สิทธิ ไม่ได้ ถูกนำมาปฏิบัติ อีกทั้งการฟ้องร้องเพิกถอนสิทธิบัตรยา ดีดีไอ ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา โดย มูลนิธิเพื่อบริโภค และผู้ติดเชื้อ เป็นโจทย์ ต้องใช้เวลาที่ยาวนาน กรมทรัพย์สินทางปัญญาเองกลับแสดงตัว ประกาศขอเป็นจำเลยร่วมกับบริษัทยา เพื่อต่อสู้คดี การสิ้นสุดคดียา ดีดีไอ ยุติด้วยการที่ บริษัทยา Bristol-Myers เจรจาขอถอนการครอบครองสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 เนื่องจากถูกบีบคั้นด้วยการประนามจากสังคมทั่วโลก
ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป สำนักหลักประกันสุขภาพ (สปสช)ได้ประกาศให้รวมยาต้านไวรัสเข้าไว้ในสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่ติดเชื้อและมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำกว่า 200 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แต่การใช้ยาต้านไวรัส จำเป็นต้องใช้ยาที่หลากหลายชนิด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ เพราะการรักษา เมื่อผู้ที่ได้รับยาต้านฯ มาเป็นเวลานาน ไวรัสจะปรับตัวและมีปฏิกิริยาดื้อต่อยาที่ใช้อยู่ ต้องเปลี่ยนสูตรยาใหม่ ซึ่งยาต้านไวรัสบางตัวที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้นั้น มีราคาแพง เนื่องจากมีผู้ผลิตรายเดียวที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร ทำให้สามารถกำหนดราคาขายได้อย่างอิสระ จึงมีผลกระทบต่องบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการเข้าถึงยาในระบบหลักประกันสุขภาพมาก ทำให้ สปสช เริ่มมองมาตรการการบังคับใช้สิทธิ โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ และแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและ เวชภัณฑ์โดยรัฐ เมื่อต้นปี 2549 การประชุม ได้ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ การยกร่างคำสั่งใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และ รายการยาในกลุ่มมะเร็งและกลุ่มยาโรคหัวใจที่น่าสนใจในการใช้สิทธิฯ
การพิจารณาถึงขั้นที่มีการนำเสนอในชุดรัฐบาล นายกทักษิณ โดย นายพินิจ จารุสมบัติได้นำเข้า ครม ประกาศใช้ ขณะนี้ มาตรการการบังคับใช้สิทธิ (CL)อยู่ในขั้นตอนการพิจารณานำมาบังคับใช้เพื่อให้ องค์การเภสัช สามารถผลิตยา เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพได้ แต่ได้รับการ ต่อต้าน คัดค้าน จาก ธุรกิจยา รวมทั้ง กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมควบคุมโรค ที่อ้างถึงการจะถูกบริษัทฟ้องร้อง ซึ่งหน่วยงานภาคราชการ มักจะนำมาเสนอแนะว่า ควรหลีกเลี่ยงสิทธิบัตรยาที่ไปผนวกเดียวกับเขตการค้าเสรี เพราะน่าจะเกิดผลทางด้านลบมากกว่าด้านบวก จึงไม่คิดทำการใดๆ กับ กลไกบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ ตามมาตรา 51 รวมทั้งไม่เปิดการรับรู้เรื่อง วรรค 6 (Paragraph 6) ของ “ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข”

No comments: