หลังจากได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์บางกอกโพลต์ ของ นาย PHILIP STEVENS ซึ่งเป็นถึงผู้อำนวยการ โปรแกรมสุขภาพ ที่ International Policy Network ตั้งอยู่ที่ลอนดอน ทำให้เกิดความ เป็นห่วงกับ คนที่มักมองฝรั่งนักคิดว่าเป็นบรมครูแห่งแนวคิดของสากลโลก ยิ่งเป็น นักคิดทางด้านสุขภาพที่ไปทำหน้าที่ระดับ Think-Thank ระดับสากล ด้วยแล้ว
จากบทความนี้ เขาได้แสดงทัศนะตื้นเขิน โต้แย้ง ถ้อยแถลงของ Oxfam เมื่อเร็วๆนี้ ที่ได้กล่าวถึง ยาแพง เป็นผลจาก ระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบสิทธิบัตรที่ผูกขาด ซึ่งการศึกษา และการรณรงค์ปฏิบัติการ ของกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศไทย เพื่อการเข้าถึงยาใน หลายๆครั้ง ก็ชัดเจน อยู่แล้ว ว่าต้องต่อสู้กับ ระบบทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีธุรกิจยาข้ามชาติ เป็นตัวจักรกลไก สำคัญ ที่ทำให้ หน่วยงานรัฐ ไม่กล้าที่จะตัดสินใจใช้ กลไก เครื่องมือใน กม สิทธิบัตรยา ที่มีอยู่จัดการให้ยาราคาถูกพอที่จะใช้งบประมาณอันน้อยนิดในการจัดหายามาบริการผู้ป่วยติดเชื้อได้ เพราะถูกขู่ขวัญผวากับ ข้อตกลงทางการค้า FTA ไทย-สหรัฐ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ถ้าไม่ใช่ ผู้ป่วยที่รวมตัวกันกับองค์กรต่างๆเกิด เครือข่ายผู้ติดเชื้อ ที่ต้องระดม ช่วยเหลือกันในการผลักดันให้ ผู้ติดเชื้อ ได้เข้าถึงยา เมื่อหน่วยงานรัฐ ไม่กล้าตัดสินใจใดๆ เครือข่ายจำต้องดำเนินการรร้องเรียน ถึงขั้นต้องทำคดีฟ้องร้องกันเอง เพื่อให้ยกเลิกสิทธิบัตรยา ดังตัวอย่างกรณี ดีดีไอ ( ddI) เมื่อเรื่องเป็นที่เปิดเผยสู่สากล จึงได้รับรู้ถึงความฉ้อฉลการใช้สิทธิบัตรในทางมิชอบของธุรกิจยา การขอถอนสิทธิ ในสิทธิบัตรยา ดีดีไอ ไม่ให้มีการฟ้องร้องต่อ และขออาสาเพิกถอนสิทธิเอง เป็นเรื่องที่ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ ต้องต่อสู้ ด้วยความยากลำบาก กว่าได้มาซึ่งความถูกต้อง แต่ผู้รับผิดชอบระดับสูง ในหน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญา ไทย กลับกล่าวชื่นชม ความเสียสละของบริษัทยา ประหนึ่ง เป็นพระเจ้าช่วยเหลือสังคมไทย
ที่ว้าตื้นเขิน เพราะ เขาได้แสดงทัศนะว่า ที่ผู้ป่วยไม่ได้ยา ไม่เข้าถึงยานั้น สาเหตุหลัก มาจาก ประเทศด้อยพัฒนาเหล่านั้น ฐานะยากจน มีระบบสาธารณะสุขที่ไม่ดี เพราะ ทั้งๆที่มียาฟรีแจก แต่มีหมอไม่พอเพียง ขาดพยาบาลดูแล แล้วเช่นนี้ ผู้ป่วยจะได้ยาได้อย่างไร การอ้าง ระบบทรัพย์สินทางปัญญา เป็นการเบี่ยงเบนขอเท็จจริง
เขาใช้ตัวแบบประเทศอินเดียเป็นการอธิบาย ทัศนะ(ตื้นๆ) ที่ว่า ตั้งแต่ปี 1975 (พศ. 2528) รัฐบาลอินเดียจัดการคุ้มครองด้วย ระบบทรัพย์สินทางปัญญาในระดับต่ำมากๆ โดยเชื่อว่า การทำเช่นนี้ จะทำให้ยาราคาถูกลง แล้วผู้ป่วยก้จะสุขภาพดีขึ้นเมื่อได้ ใช้ยากัน คำตอบที่เห็น เขาฟันธงว่า "ไม่" แม้เด็กๆที่เกิดมาก็ไม่ได้ วัคซีน ตามที่ควรให้ เอาง่ายๆที่เห็น ยาฆ่าเชื้อ ที่หลุดจากการคุ้มครองสิทพฺบัตรยา ที่สามารถผลิตได้ทั่วไป คนป่วยติดเชื้อ ยากจนในชนบท ก็ทนทุกข์กับการไม่ได้ยา มีเพียงส่วนน้อย เท่านั้น เขาขยายความว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นมาจาก ความยากจน และจากปัจจัยที่แท้จริงของ ระบบสาธารณสุขของประเทศ ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบ การคอรัปชั่น และการขาดแคลนทรัพยากร ต่างๆ รวมทั้งระบบขนส่งที่เลว การเดินทางที่ไม่เอื้อให้ผู้ป่วยไปหาหมอ ทั้งๆที่สถานพยาบาลอยู่แค่เอื้อม
ขณะที่คนอินเดียที่ยากจนรอความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อจัดหาแหล่งน้ำที่สะอาด แต่รัฐ กลับไปใส่ใจในการปรับระบบทรัพยสินทางปัญญา เพื่อ เร่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ชาวอินเดียยากจน จึงไม่เห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาจะเกี่ยวข้องอะไร กับวิถีชีวิต ที่แร้นแค้นไปซะทุกอย่างของพวกเขา
ประเทศยากจนอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในแถบอัฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ก็มีสถานะการเดียวกัน คือระบบสาธารณสุขที่พิกลพิการ ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีระบบประกันสุขภาพ
การออกมากล่าวโทษ ว่ายาแพง มาจากระบบทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นการแก้เกี้ยวและเบี่ยงเบน ปัญหาแท้จริงที่รัฐบาลต่างๆในประเทศยากจนใช้อ้าง เพื่อที่จะให้สิ่ง ที่ต้องรับผิดชอบ คือการจัดหาหมอและพยาบาล ที่ไม่พอเพียง จะได้ไม่ถูกกล่าวหา กล่าวโทษ ไร้ประสิทธิภาพในการจัดการ
เพื่อให้ ทัศนะที่นำเสนอน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ได้ นำเอา คำให้สัมภาษณ์ของ หัวหน้า WHO's Aids division ที่ให้กับนักข่าวรอยเตอร์ว่า ช้างที่ไปมุดอยู่ในห้อง ที่เป็นตัวปัญหาน่ะ ไม่ใช่ช้างที่ชื่อ ยาแพง ความจริง คือระบบสาธารณสุข ที่ขาดแคลนบริการพื้นฐานทั้งหลายทั้งปวง ตั้งแต่ คน และระบบ
นักคิดด้านสุขภาพในประเทศไทย โปรดรับทราบ และช่วยเตือนๆท่านหมอที่เป็นฝ่ายบริหาร กระทรวงสาธารณสุขด้วยว่า ผู้ป่วยไม่ได้ยา เป็นเพราะ ท่านไร้ประสิทธิภาพในการจัดการบริการระบบสาธารณสุข ตามที่นักคิด แห่งลอนดอนแสดงทัศนะ
ท่านเชื่อหรือไม่ ในส่วนผู้เขียนเห็นว่าเป็นทัศนะ ไร้สาระ บ้องตื้น
มีโอกาสจะค่อยๆทะยอยเพื่อนำเสนอให้เห็นว่า ยาแพง ทำไมยังแพง ยาแพง ทำไม กลับถูกลงได้
โดย สุนทรี วิทยานารถไพศาล
อ้างอิงจาก
A dose of reality about drug prices
Bangkok Post : FOCUS / HEALTH
November 20,2006
By PHILIP STEVENS
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
ถ้าตามไปดูบทความที่ นาย PHILIP STEVENS เขียนเรื่อง เกี่ยวกับองค์การอนามัยโลก ใน บทความที่ชื่อว่า WHO's in Charge? ใน National Review Online เมื่อ ปีที่แล้ว (2005)เดือนธันวาคม โดยเขามีความเชื่อว่า องค์การอนามัยโลก ตกอยู่ใต้อิทธิพลขององค์กรพัฒนาเอกชนยักษ์ใหญ่ ดังเช่น Oxfam, Medecins Sans Frontieres (MSF), and Save the Children.
ยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก เกิดจากอิทธิพลของกลุ่มชนเหล่านี้ ที่เข้าไปแทรกซึมมาเป็นเวลานานแล้ว
เอกสารที่นำเสนอเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มเหล่านี้ ก้ฝันเฟื่องเกินขอบเขต อีกทั้งเสมือนคำแถลงการณ์ของคอมมูนิสต์ ดังนั้นท้ายของบทความเขาขอให้ อเมริกาให้ตัดงบสนับสนุนองค์การอนามัยโลก เพราะนับวัน กำลังต่อต้านคนอเมริกัน และกำลังทำลายผลประโยชน์คนยากคนจน
ความเชื่อของ นาย PHILIP STEVENS ยังคงคาอยู่ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับรัสเซีย น่ะ
ติดตามงานเขียนของนาย PHILIP STEVENS อีกเรื่องคือ Free Trade for better health เป็นงานเขียนที่สาธยายความดี ของระบบการค้าเสรี ที่มีผลดี ต่อสุขภาพ สองประการคือ
1. ช่วยทำให้ คนในประเทศยากจนที่ทำข้อตกลง ร่ำรวยขึ้นอย่างแน่นอน มีเงินทองจับจ่าย ใช้สอยเพื่อ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีน้ำใสสะอาดใช้สอย มีสิ่งอำนวยสุข อัตราการตาย ก็จะลดลง ดัง ตัวอย่างของ ประเทศร่ำรวย มาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เห็นผลในด้านคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นจริงๆ
2. เกิด การถ่ายทอดเท็คโนโลยี จากต่างประเทศ เพราะเทคโนโลยีด้านสุขภาพ พัฒนามาจาก ประเทศร่ำรวยทั้งสิ้น ขณะนี้มีราคาถูก สามารถส่งออกกระจาย ขยายไปทั่วโลก
เขาตำหนิ องค์การการค้าโลก ที่เป็นตัวถ่วง ทำแนวทางปฏิบัติที่ชะลอการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพราะ เชื่อฟังนักรณรงค์
เขาให้ความเห็นว่า GATS ควรทำหน้าที่ช่วยเหลือประเทศยากจน โดยการเร่งพัฒนาความช่วยเหลือ การถ่ายทอดความรู้ เช่น พัฒนาศักยภาพให้สามารถใช้เทคโนโลยีการรักษาทางไกล (telemedicine)จัดการธุรกิจท่องเที่ยวสุขภาพ (medical tourism)ให้เป็น และส่งเสริมให้มีการประกันสุขภาพ ซึ่งจะช่วยลดปัญหา สมองไหล ของบุคคลากรสุขภาพ เพราะ หมอ และวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ จะมีงานที่มีรายได้สูง กว่าที่เป็นอยู่
การนำเสนอ บทความ อย่างย่อๆ ของ บุคลผู้นี้ มาทั้ง สามหัวเรื่อง คงประเมินได้แล้ว ว่า ความคิด ความอ่าน คงอยู่ในระดับ ที่น่าสังเกตุ บทความของเขาจะถูกถ่ายทอดในแวดวง ธุรกิจยา และเป็นแนวทางที่ฝ่ายธุรกิจยามักใช้ โต้ตอบกับ ผู้มีความเห็นต่อต้าน การค้าที่ไม่เป็นธรรม
Post a Comment